Tag Archives: เทพกรีก

เทพเฮเฟสตัส (Hephaestus)

เฮเฟสตัส(Hephaestus) หรือ วัลแคน(Vulcan)ในตำนานเทพของโรมัน เป็นเทพในตำนานเทพเจ้ากรีกที่รู้จักกันในนามเทพเจ้าแห่งไฟ ช่างฝีมือ ช่างตีเหล็ก ช่างไม้ งานโลหะ ประติมากรรม และภูเขาไฟ เขามักจะทำงานเกี่ยวข้องกับโรงตีเหล็กและถือว่าเป็นช่างตีเหล็กของเหล่าทวยเทพ เขาเป็นหนึ่งในสิบสองเทพเจ้าแห่งโอลิมเปียน เฮเฟสตัสเป็นบุตรชายของเทพซูสและเทพีเฮร่า แต่ก็มีบางตำนานที่บอกว่าเทพีเฮร่าเป็นผู้ให้กำเนิดเองแต่เพียงผู้เดียว มีพี่น้องร่วมสายเลือด 3 องค์ อาเรส ฮีบี และไอไลธีเอีย สัญลักษณ์ของเฮเฟสตัสคือค้อนของช่างตีเหล็ก ทั่งตีเหล็ก และคีมคู่หนึ่ง สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแสดงถึงบทบาทของเขาในฐานะช่างตีเหล็ก แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ของการสร้างสรรค์และการเปลี่ยนแปลงอีกด้วย

กล่าวกันว่าเทพเฮเฟสตัสมีร่างกายอ่อนแอและมีรูปร่างผิดปกติ ซึ่งทำให้เทพีเฮร่าต้องโยนเขาลงจากภูเขาโอลิมปัส บางตำนานเขาถูกลงโดยแม่ของเขาคือเทพีเฮร่าทำให้ล้มแล้วหล่นลงลงทำให้ร่างกายเขาพิการ การล้มครั้งนี้มักถูกอ้างว่าเป็นสาเหตุของอาการง่อยของเขา โดยอาการบาดเจ็บอาจทำให้อาการของเขาแย่ลง เขาล้มลงหนึ่งวันทั้งคืนก่อนที่จะตกลงสู่ทะเล ซึ่งเขาได้รับการช่วยเหลือจาก Thetis และ Eurynome ซึ่งเลี้ยงดูเขาไว้ในถ้ำ เพื่อเป็นการขอบคุณสำหรับความเมตตาของพวกเขา ต่อมาเทพเฮเฟสตัสจึงได้สร้างสรรค์ของขวัญมากมายให้พวกเขาทั้งสอง

แม้จะมีความท้าทายทางกายภาพเทพเฮเฟสตัสก็สามารถเป็นช่างฝีมือที่ประสบความสำเร็จ เพราะเขาประดิษฐ์สิ่งของที่น่าทึ่งมากมายสำหรับเหล่าทวยเทพแห่งโอลิมปัสรวมถึงสายฟ้าของซูส เอจิสแห่งเอเธน่า รถม้าของเฮลิออส โซ่ล่ามโพรมิทีอุส ธนูของอะพอลโล่และอาเทมิส และอาวุธและชุดเกราะศักดิ์สิทธิ์อื่นๆอีกมากมาย แต่ผลงานที่โด่งดังที่สุดชิ้นหนึ่งของเขาคือ แพนโดร่าผู้หญิงคนแรกที่เขาสร้างขึ้นเพื่อเป็นการลงโทษมนุษยชาติ เฮเฟสตัสมีโรงตีเหล็กและโรงปฏิบัติงานอันงดงาม ตั้งอยู่ใต้ภูเขาโอลิมปัสหรือบนเกาะเลมนอส(Lemnos) ในโรงงานของเขาได้ผลิตไอเท็มที่ทรงพลังและประณีต รวมถึงอาวุธ ชุดเกราะ และสิ่งประดิษฐ์ อื่นๆ สำหรับเทพเจ้า โดยมีลูกมือในโรงปฏิบัติงานคือเหล่ายักษ์ไซคลอปส์(Cyclops) ยักษ์ที่มีลูกตาไฟซึ่งเป็นบุตรของเทพอูรานอสและเทพีไกอา

เทพเฮเฟสตัสแต่งงานกับเทพีอะโฟรไดทิ(Aphrodite) เทพีแห่งความงามและความรัก การจับคู่ของทั้งคู่ดูไม่เขากันเพราะเทพซูสเป็นผู้จับคู่ให้ทั้งสอง เพื่อป้องกันความขัดแย้งของหล่าวทวยเทพเรื่องต้องการที่จะเป็นคู่ครองของเทพีอะโฟรไดทิ เรื่องเล่าที่โด่งดังที่สุดเรื่องหนึ่งของเทพเฮเฟสตัสเกี่ยวข้องกับการนอกใจของภรรยาเขา เทพีอะโฟรไดทิกับเทพอาเรส ตัวเทพเฮเฟสตัสเองพอรู้ระแคะระคายมาสักพักแล้วแต่ยังหาหลักฐานคาหนังคาเขาไม่ได้ เมื่อวันนึ่งเทพเฮลิออส(Helios)แจ้งข่าวการนอกใจให้เขาทราบ เพื่อทำการแก้แค้นเทพเฮเฟสตัสได้สร้างตาข่ายอย่างดีที่ไม่มีวันแตกหักและติดกับดักของคู่รัก จากนั้นเขาก็ลากอวนไปที่ภูเขาโอลิมปัสเพื่อเห็นพวกเขานอนอยู่บนเตียง เทพเฮเฟสตัสได้หว่านแหจับทั้งคู่แล้วลากทั้งสองออกจากเตียงเพื่อไปประจานต่อหน้าเทพองค์อื่น พระองค์ทำเช่นนี้เพื่อให้พวกเขาถูกหัวเราะเยาะและเยาะเย้ย ความอับอายในที่สาธารณะของอะโพรไดทิและอาเรสกลายเป็นตัวตลกขบขันสำหรับเหล่าทวยเทพ การแต่งงานของเทพเฮเฟสตัสกับเทพีอะโฟรไดทินั้นไม่ได้มีลูกด้วยกัน แต่กล่าวกันว่าเทพเฮเฟสตัสก็มีคู่รักที่เป็นมนุษย์และเป็นเทพจำนวนมากและยังมีลูกๆอีกจำนวนหนึ่ง

เทพเฮเฟสตัสมีบทบาทสำคัญในลำดับชั้นของเทพนิยายกรีก และคุณลักษณะของเขาเป็นสัญลักษณะของเทพองค์สำคัญของงานฝีมือ งานเหล็ก และเทคโนโลยีต่างๆในสังคมกรีกโบราณ

เทพอาเรส(Ares)

เทพอาเรส(Ares) หรือมาร์ส(Mars) ในอารยธรรมโรมัน เทพเจ้าสงคราม จิตวิญญาณแห่งการต่อสู้ และความกล้าหาญของอารยธรรมกรีกโบราณ  อาเรสเป็นหนึ่งในพระเจ้าทั้ง 12 ของโอลิมเปียน บุตรคนโตของเพทซูส(zeus) และเทพีเฮร่า(Hera) มีน้อง 3 คน คือ ไอไลธีเอีย(Eileithyia) ฮีบี(Hebe) และเฮเฟตัส(Hephaestus) อาเรสเป็นเทพที่บ้าบิ่น กระหายเลือด และโหดร้าย เป็นตัวแทนของแง่มุมที่เลวร้ายและน่ากลัวที่สุด อาเรสจึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมและสักการะบูชามากนักในอารยธรรมกรีก แม้กระทั่งบิดาของเทพอาเรส เทพซูสก็คงเนรเทศเขาไปที่หลุมแห่งทาทารัสถ้าเขาไม่ใช่เลือดเนื้อของซุสเอง

โดยทั่วไปแล้วเทพอาเรสจะถูกพรรณนาว่าเป็นเทพเจ้าแห่งสงครามและความหุนหันพลันแล่น สนุกกับความวุ่นวายและการทำลายล้างของสงคราม อาเรสมักปรากฏในงานศิลปะและวรรณกรรมโดยสวมชุดเกราะและถือหอกหรือดาบ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ของอาเรสได้แก่ นกแร้งและสุนัขซึ่งเกี่ยวข้องกับธรรมชาติของสงคราม อาเรสนั้นเป็นเทพแห่งสงครามเช่นเดียวกับเทพีอธีนาแต่เทพีอธีนาจะได้รับการยกย่องและบูชามากว่าเพราะเทพีอธีนามีความาสามารถและโดดเด่นทางด้านความฉลาดและสติปัญญา

เทพอาเรสเป็นที่รู้จักจากความสัมพันธ์โรแมนติกกับเทพีอะโฟรไดทิ(Aphrodite)เทพีแห่งความรักและความงาม อาเรสได้รับการกล่าวขานว่าเป็นหนึ่งในเทพที่มีความหล่อเหลาและสง่างาม แต่เนื่องด้วยอะโฟรไดทิได้สมรสกับกับเทพเฮเฟตัสแล้ว ความสัมพันธ์ของทั้งคู่จึงเป็นความสัมพันธ์แบบชู้สาว ความรักของทั้งคู่ทำให้มีบุตรธิดาได้แก่ โฟบอส(Phobos)เทพแห่งความกลัว, ดีมอส(Deimos)เทพแห่งความหวาดกลัว, ฮาร์โมเสีย(Harmonia)เทพแห่งความสมัคคี และอีรอส(Eros)เทพแห่งความรัก ทั้งสองมักแอบพรอดรักกันเวลาเทพเฮเฟตัลงจากโอลิมปัสในช่วงเวลากลางคืน จนวันหนึ่งเทพเฮเฟตัสผู้เป็นพระสวามีระแคะระคายเรื่องทั้งสองคบชู้กัน เฮเฟตัสรอจนถึงเวลาที่ทั้งคู่พลาด จนวันนั้นก็มาถึงพระองค์ได้นำเอาร่างแหที่พระองค์สร้างขึ้นมาและไปยังที่นั่นแล้วเหวี่ยงแหไปครอบร่างทั้งสองพระองค์ไว้แล้วลากออมาที่แจ้งเพื่อเป็นการประจานให้ได้อับอายและเป็นเรื่องขบขันให้กับบรรดาเทพได้หัวเราะเยอะกัน เมื่อพอเทพเฮเฟตัสพอใจแล้วจึงปล่อยทั้งสองพระองค์ไป ในสงครามเมืองทรอย(Trojan War)เทพอาเรสก็เลือกที่จะอยู่ข้างเทพีอะโฟรไดทิ เทพอาเรสก็ตามพระทัยนางเสมอ จึงเลือกช่วยเหลือทหารฝั่งเมืองทรอย

โดยรวมแล้วอาเรสมีบทบาทสำคัญในเทพนิยายกรีกในฐานะเทพเจ้าที่เป็นตัวแทนของสงครามที่โหดร้ายและไม่อาจควาดเดาได้ แต่ส่วนใหญ่อาเรสไม่ได้มีความสำคัญอะไรดังเช่นเทพเจ้าองค์อื่นๆ

เทพีเฮสเทีย (Hestia)

เทพีเฮสเทีย(Hestia) หรือเทพีเวสต้า(Vesta) ในอารยธรรมของโรมัน เป็นเทพีพรหมจรรย์ และเตาไฟในครัวเรือนในศาสนาและเทพนิยายกรีกโบราณ นางเป็นบุตรสาวคนโตของไททันโครนอสและรีอา เป็นพี่สาวของฮาเดส โพไซดอน ซูส เฮร่า และดีมีเทอร์ เป็นลูกคนแรกที่ถูกโครนอสผู้เป็นพ่อกลืนลงท้อง เมื่อซูสมาปลดปล่อยพี่น้องเฮสเทียในฐานะที่เป็นคนแรกที่ถูกกลืนเข้าไป เธอก็เป็นคนสุดท้ายที่ถูกนำออกมา และได้รับการชื่อว่าลูกคนโตและลูกคนเล็กที่สุดในบรรดาทั้ง 6 คน เฮสเทียเป็นเทพีที่มีความเป็นอยู่เรียบง่าย ไม่มีความโลดโผนเหมือนคนอื่นๆ และไม่ได้เป็นหนึ่งใน 12 เทพและเทพีแห่งโอลิมปัสที่สำคัญของวิหารแพนธีออนของกรีกเพราะนางได้สละบัลลังก์ให้กับเทพไดโอนิซูส(Dionysus)

เฮสเทียเป็นเทพีแห่งเตาไฟ บ้าน และครอบครัว ในสมัยกรีกโบราณเตาไฟเป็นจุดศูนย์กลางของชีวิตในบ้านที่ซึ่งครอบครัวจะมารวมตัวกันเพื่อแบ่งปันอาหารและประกอบพิธีกรรม บ้านไหนที่ไฟยังคงลุกอยู่มันจะเป็นสัญลักษณ์ของการมีบทบาทของเฮสเทียในการเป็นประธานของกิจกรรมในบ้าน ความอบอุ่น ความปลอดภัยของครัวเรือน และความเป็นอยู่ที่ดี เฮสเทียจะได้รับเกรียรติให้เป็นผู้พิทักษ์ชีวตในบ้าน ชื่อของนางมาจากคำภาษากรีก “เฮสเทีย” หมายถึงเตาไฟหรือเตาผิง

โดยทั่วไปแล้วเฮสเทียจะถูกมองว่าเป็นเทพธิดาที่ถ่อมตัว อ่อนโ่ยน และสง่างาม สวมผ้าคลุมหน้าแต่งกายสุภาพเรียบร้อย นั่งเกาอี้ไม้เรียบง่ายหรือยืนข้างเตาด้วยท่าทางที่เรียบร้อย และเงียบสงบขณะดูแลกองไฟ เฮสเทียได้รับความเคารพนับถือในทุกครัวเรือน และครอบครัวจะสวดมนต์และเครื่องบูชาให้เธอก่อนรับประทานอาหารและงานสำคัญอื่นๆ

ในบริบททางศาสนาที่กว้างกว่า เฮสเทียถือเป็นหนึ่งในเทพเจ้าองค์แรกและองค์สุดท้ายของเทพเจ้าโอลิมเปีย เมื่อเทพเจ้าถูกแบ่งออกเป็นสามชั่วอายุ เฮสเทีย ซูส ฮาเดส เฮรา เดมีเทอร์ และโพไซดอน อยู่ในยุคเริ่มแรกของเทพโอลิมเปียแห่งเทือกเขาโอลิปัส เฮสเทียเป็นหนึ่งในสามเทพีพรหมจารี ไม่เคยแต่งงานหรือมีลูกเลยโดยมีเทพีเอเธน่า(Athena) และเทพีอาร์เทมิส(Artemis) ด้วย โพไซดอนและอพอลโลต้องการแต่งงานกับนางแต่เฮสเทียก็ปฏิเสธทั้งคู่ ซูสให้สิทธิ์แกนางในการคงความเป็นพรหมจารีชั่วนิรันดร์

แม้จะเป็นเทพีผู้มีความสำคัญ แต่เฮสเทียก็ไม่ได้มีบทบาทสำคัญในตำนานมากมาย ความสำคัญของเธออยู่ที่บทบาทของเธอในฐานะผู้พิทักษ์บ้านและครอบครัว โดยเน้นถึงคุณค่าของครอบครัวและชีวิตในบ้านของสังคมกรีกโบราณ

เทพโพไซดอน (Poseidon)

โพไซดอน(Poseidon) หรือ เนปจูน(Neptune)

เทพเจ้าในความเชื่อของชาวโรมัน เป็นเทพเจ้าแห่งท้องทะเล แผ่นดินไหว และม้า โพไซดอนเป็นผู้พิทักษ์ของนักเดินทางเรือ ผู้พิทักษ์เมืองและอาณานิคมของกรีกหลายแห่ง โพไซดอนคือหนึ่งในเทพเจ้าที่มีอำนาจของโอลิมปัสพร้อมด้วยซูสและฮาเดส โพไซดอนเป็นบุตรของไททันโครนอสและรีอาเช่นเดียวกับพี่น้องคนอื่นๆถูกโครนัสผู้เป็นพ่อกลืนเข้าไปในท้องตั้งแต่เกิด

เมื่อออกมาจากท้องของโครนอสบิดาของตน โพไซดอนก็ช่วยซูสผู้เป็นน้องชายโค่นล้มอำนาจของบิดาตนจนได้รับชัยชนะ เมื่อสงครามสงบและเทพทุกองค์มั่นคงแล้ว ซูสก็ได้แบ่งอำจานให้พี่ๆ ในส่วนของโพไซดอสนั้นได้รับให้ดูแลทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและแห่งน้ำทุกแห่ง โดยอำนาจดังกล่าวถูกแบ่งมาจากไททันโอเชียชัสผู้ดูแลท้องน้ำทั้งหมด ซูสจริงแบ่งอำนาจส่วนหนึ่งให้กับโพไซดอน ได้แก่ทะเลเมดิเตอร์เลเนียน ทะเลดำ และแม่น้ำต่างๆ บนแผ่นดิน อยู่ในอำนาจการดูแลของโพไซดอนทั้งไม่ ไม่ว่าเทพ เทพี นางอัปสรแห่งท้องทะเล สัตว์และอสุรกาย ให้ความเคารพยำเกรงโพไซดอนทั้งหมด

โพไซดอนมักจะถูกพรรณนาเป็นชายมีหนวดเคราในมือถือตรีศูส นอกจากนี้ยังเป็นที่รู้จักกันว่า อารมณ์แปรปรวนและเรื่องราวมากมายในตำนานเทพเจ้ากรีกเกี่ยวข้องกับความโกรธเกรี้ยวและความพยาบาท ในฐานะเทพเจ้าแห่งท้องทะเลโพไซดอนมักจะได้รับการบูชาจากกะลาสี ชาวประมงและคนอื่นๆ ที่อาศัยท้องทะเลในการดำรงชีวิต โพไซดอนยังได้รับความเคารพในฐานะผู้สร้างม้าและพิทักษ์ของม้า

โพไซดอนแต่งงานกับนางแอมฟิไทรติ(Amphitrite) นางเป็นหนึ่งในนางอัปสรแห่งเนเรอิด บุตรสาวของเนรีอุส(Nereus)และโดริส(Doris) เนรีอุสต้องการยกแอมพิไทรติเป็นมเหสีของโพไซดอน แต่นางไม่ยินยอมจึงได้หนีจากบ้านมาอยู่ที่ภูเขาแอตลาส(Atlas mountains) โพไซดอนส่งเหล่าบริวารไปค้นหานางแอมฟิไทรติ ในที่สุดก็มีโ่ลมาตัวหนึ่งนามเดลฟินัส(Delphinus)ไปเจอนางเข้าจึงหว่านล้อมนานา ทำให้นางใจอ่อนยอมกลับไปแต่งงานกับโพไซดอน

เทพีเฮร่า (Hera)

          เทพีเฮร่า(Hera) หรือจูโน่(Juno)ในโรมัน ในตำนานกรีกเฮร่าคือราชินีของเทพแห่งโอลิมปัสและยอดเขาโอลิมปัส เป็นเทพีแห่งการแต่งงาน, ผู้หญิง, ครอบครัว, และเทพีแห่งการคลอดลูก เฮร่าเป็นทั้งพี่สาว และภรรยาของเทพเจ้าซูส และเป็นลูกสาวของไททันโคนอสและรีอา ถูกโครนอสผู้เป็นพ่อกลืนลงไปในท้องเหมือนเหล่าพี่ๆของนาง

          ในบรรดาพี่น้องทั้งหมด เฮร่ามีความงดงามที่สุด ซูสหลงรักนางตั้งแต่แรกเจอ ซูสพยายามตามอ้อนวอนขอให้เฮร่าแต่งงานกับเขาถึง 300 ปี แต่เฮร่าก็ไม่ใจอ่อนให้กับความพยายามของซูส ซูสจึงสร้างอุบายหลอกเฮร่า ด้วยกันแปลงกายเป็นนกกาเหว่าที่บาดเจ็บ เฮร่าได้ช่วยเหลือนกกาเหว่าตัวนั้นและดูแลอย่างดีแล้วซูสที่แปลงกายเป็นนกกาเหว่าก็ปรากฎตัวขึ้น ทำให้เฮร่าจำต้องแต่งงานกับซูส

           ลักษณะเด่นของนางคือ ขี้หึงและพยาบาทคนที่ทำให้เธอไม่พอใจ โดยเฉพาะเหล่าๆเมียน้อยของซูสและลูกๆของพวกนางไม่ว่าพวกนางจะเต็มใจหรือไม่เต็มใจเป็นเมียของซูสก็ตาม ภาพลักษณ์ของเฮร่ามักจะแสดงให้พระนางดูสง่างามผ่าเผย สวมมงกุฎบางครั้งก็สวมผ้าคลุมเหมือนผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว สัตว์ประจำตัวนาง ได้แก่ วัว นกกาเหว่า และนกยูง บางครั้งก็จะถือผลทับทิมซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความอมตะ

           เฮร่าเป็นเทพีแห่งการแต่งงานและการคลอดบุตร และตำนานส่วนใหญ่ของนางคือการแต่งงานกับซูสน้องชายของนาง แต่ซูสก็นอกใจนางไปมีลูกกับเทพธิดาและมนุษย์ เฮร่าซึ่งเป็นคนขี้หึงอยู่แล้วก็ตามไปรุกรานพวกนางและลูกๆ ของพวกนาง เฮร่านางมีลูกกับซูสได้แก่ แอเรส(Ares), อิเลเทีย(Eileithyia), ฮีบี(Hebe), เฮเพสตุส(Hephaestus), อีริส(Eris)

เทพซูส(Zeus)

      ซูส(Zeus)หรือในโรมันเรียกว่าจูปิเตอร์(Jupiter) เทพเจ้าแห่งท้องฟ้าและสายฟ้า ผู้ปกป้องเหล่าเทพและเทือกเขาโอลิมปัส(Olympus) พ่อของเหล่าเทพและมนุษย์ ซูสมักจะถูกพรรณนาในรูปร่างของชายชรามีเคราถือสายฟ้า สัญญาลักษณ์ของซูสประกอบไปด้วย นกอินทรีย์ ต้นโอ๊ค วัว คทา และตาชั่ง

          ซูสเป็นลูกชายคนเล็กสุดของไททันนามโครนอสและรีอา เนื่องด้วยคำสาปของโครนอสที่ว่าจะถูกโค้นล้มอำนาจจากลูกของตัวเอง เมื่อรีอาเกิดลูกมาเมื่อไหร่โคนอสจะมากลืนลูกๆลงท้องคนแล้วคนเล่า จนกระทั่งมาถึงซูสรีอาได้ตัดสินใจที่จะช่วยลูกของนางให้มีชีวิตรอด เมื่อคลอดซูสนางได้นำซูสไปส่งให้ไกอาผู้เป็นมารดา และเอาผ้าห่อก้อนหินให้โครนัสที่ไม่ทันมองก็กินก้อนหินที่นึกว่าเป็นลูกลงท้องไป ซูสถูกนำไปเลี้ยงดูที่ถ้ำบนเกาะครีต โดยมีนิมฟ์(Nymph)ในตำนานเทพเจ้ากรีกคือนางไม้ที่นั่นมีแพะตัวเมี่ยนาม แอมันเทีย(Amalthaea) กับนางมีลิสสา(Mellissa) และได้รับการปกป้องจากกลุ่ม Curetes(นักรบหนุ่ม)เพื่ออำพรางเสียซูสเติบเติมจนเป็นผู้ใหญ่ เมือซูลเติบโตเป็นใหญ่ถึงเวลาที่จะทำศึกได้แล้ว เขาได้นำการจลาจลต่อเหล้าไททันทั้งหลาย โดยรีอาได้หลอกให้โครนอสกินยาสำรอกบุตรที่เคยกลืนไปออกมา โดยเทพเจ้าที่ถูกกลืนไปยังไม่ตายแถมยังโตเป็นผู้ใหญ่หมดแล้ว แล้วก็ได้ร่วมมือกันโค่นอำนาจโครนัสลงด้วยการช่วยกันของพี่ๆ คือ ฮาเดสและโพไซดอน

         เมื่อซูสทำสงครามเสร็จได้รบชนะ และได้ช่วยพี่ๆออกมาได้ ซูสก็ได้ตั้งตัวขึ้นเป็นราชาแห่งเทพเจ้าทั้งปวง ขึ้นครองบัลลังก์บนยอดเขาโอลิมปัส